ความเป็นมาของเมืองตรัง
สมัยกรุงศรีอยุธยา...เป็นเมืองท่าของเมืองนครศรีธรรมราชทางด้านทะเลนอก(ทะเลอันดามัน)ฝั่งตะวันตกของภาคใต้ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 พ.ศ. 2054 ในจดหมายเหตุของโปรตุเกสกล่วถึงผู้สำเร็จราชการเมืองกัวในอินเดียยกทัพมาตีเมืองมะละกา โดยไม่ทราบว่าเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยาจึงได้แต่งตั้งให้อาซาวโดเดินทางจากมะละกามาขึ้นบกที่เมืองตรังไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อนำสาส์นขอโทษและถวายปืนไฟให้เป็นการขอขมาและจากตำนานนางเลือดขาวซึ่งเขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2272 สมัยพระเจ้าอยู่ท้ายสระกล่าวถึงการเดินทางมาสร้างวัดพระงาม วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระพุทธสิหิงค์ วัดถ้ำพระพุทธของนางเลือดขาวและพระกุมารโดยจากตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราชซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2276 ตรงกับสมัยพระเจ้าอยู่ห้วบรมโกศได้กล่าวถึงเมืองตรังว่าเป็นเมืองพราหมณ์นำเอาเทวรูปพระนารายณ์ รูปพระลักษมี พระอิศวร รูปหงค์และชิงช้าทองแดงจากกษัตรย์เมืองรามนครในประเทศอินเดียมาถวายพระรามาธิบดีที่1แต่เรือถูกพายุแตกพัดเข้าปากแม่น้ำตรัง
สมัยกรุงธนบุรี ในปีพ.ศ.2319 พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดให้แยกหัวเมืองปักษ์ใต้ออกจากหัวเมืองนครศรีธรรมราชดังนั้นปี พ.ศ.2320 เป็นต้นมาหัวเมืองนครศรีธรรมราชจึงเหลือแค่เมืองตรังและเมืองท่าทองเท่านั้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในช่วงนี้เมืองตรังยแกส่วนตามลักษณะที่ตั้งได้หลายส่วน เริ่มต้นที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงโปรดฯให้รวมเมืองตรังและเมืองภูราเข้าด้วยกันเป็นเมืองตรังภูราโยส่งพระภักดีบริรักษ์พระยาตรังไหนหรือพระยาตรังภูมาภิบาลศรีจันทร์)ผู้ช่วยราชการเมืองนครศรีธรรมราชให้เป็นผู้รักษาดมืองตรังภูราและให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ เมื่อประมาณปี พ.ศ.2330 ที่ตั้งเมืองบริเวณเเถบบ้านป่าหมากและบ้านนาแขกในปัจจุบัน
ตั้งเมืองที่ควนธานี จากหลักฐานทำเนียบเมืองนครศรีธรรมราชเมื่อปี พ.ศ. 2354 ในรัชสมัยสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระยานครศรีธรรมราช(น้อย)ในขณะนั้นได้กราบทูลเสนอนายม่วง บุตรชายขึ้นเป็นเจ้าเมืองตรังคือพระอุไภยธานี มีตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองตรังโดยสมบูรณ์เป็นคนแรกและได้สร้างเมืองตรังที่ควนธานี(ศาลหลักเมืองตรังที่ตำบลควนธานีในปัจจุบัน)
สมัยเมืองกันตังเป็นศูนย์กลางระหว่างช่วง พ.ศ. 2436-2458 กล่าวกันว่า เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสเมืองตรังในยุคนั้นเมืองกันตังเป็นเมืองที่เจริญมีชุมชนชาวจีนทำมาค้าขายมีท่าเรือติดต่อกับมาลายู ชาวบ้านส่งพริกไทยไปขายที่เกาะหมาก ดังนั้นจึงมีพระราชดำริให้พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)ผู้ว่าราชการเมืองกรกะบุรีมาเป็นเจ้าเมืองตรังซึ่งถือว่าเป็นผู้พัฒนาเมืองตรังให้มีความเจริญรุ่งเรืองจนได้สมญานามจากชาวตรังว่าเป็น"เจ้าแห่งการพัฒนา" เนื่องจากเป็นผู้วางรากฐานความเจริญให้กับเมืองตรังไว้มากมายทั้งการนำต้นยางพาราจากมาลายูมาปลูกที่เมืองกันตังเป็นแห่งแรกจนทำให้มีการปลูกยางพาราเป็นไปอย่างแพร่หลายทั่วภาคใต้ในเวลาต่อมา รวมทั้งการจัดวางผังเมืองสร้างท่าเรือกันตังการวางรากฐานการประกอบอาชีพของราษฎรชาวจังหวัดตรังจึงได้ร่วมกันสร้างอนุสาวรีย์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2494 เพื่อรำลึกถึงพระคุณของท่านและจัดงานรำลึกในวันคล้ายวันถึงแก่อนิจกรรมของท่านในวันที่ 10 เมษายนของทุกปี
จากกันตังสู่ทับเที่ยง ตั้งแต่ พ.ศ. 2458 จนกระทั่งถึงปัจจุบันเมืองทับเที่ยงกลายเป็นศูนย์กลางเมืองตรัง ครั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสเมืองกันตัง ซึ่งขณะนั้นเกิดโรคระบาดและเกรงว่าศัตรูอาจจะจู่โจมทางทะเลได้อีกทั้งกันตังเป็นเมืองปิดเนื่องจากติดทะเลไม่สามารถขยายเมืองออกไปไหนได้จึงได้มีพระราชดำริให้ย้ายเมืองออกไปอยู่ที่ทับเที่ยงหรืออำเภอเมืองตรังในปัจจุบันซึ่งตามตำนานเล่าว่าสมัยเจ้าพระยานคร(น้อย)ยกทัพมาจากเมืองนครศรีธรรมราชเพื่อไปรบกับเมืองไทรบุรีนั้นได้หยุดพักตั้งค่าย ณ บริเวณนี้ในเวลาช่วงเที่ยงจึงได้ชื่อว่าทับเที่ยง
ขอขอบคุณ ข้อมุล จากเว็บ http://www.trangamazing.com